คำมูล คือ คำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นคำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะอาจเป็นคำไทยดั้งเดิมหรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ และจะเป็คำ " พยางค์ " เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
         "พยางค์" คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ ซึ่งจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ วิธีนับว่ามีกี่พยางค์นั้นโดยเมื่อเราอ่านออกเสียง ครั้ง ถือว่าเป็น พยางค์ ถ้าออกเสียง ครั้งถือว่าเป็น พยางค์

         เช่น สิงโต (สิง-โต) มี พยางค์
         จักรวาล (จัก-กระ-วาน) มี พยางค์
         มหาวิทยาลัย (มะ-หา-วิด-ทะ-ยา-ลัย) มี พยางค์ เป็นต้น

คำมูลแบ่งเป็น ชนิด คือ
         1. คำมูลพยางค์เดียว เช่น เพลง,ชาม,พ่อ,ยืน,หิว,ยิ้ม,สุข,ใน ( คำไทยแท้ )
ฟรี,ไมถ์,ธรรม ( คำที่มาจากภาษาอื่น )

        ตัวอย่างของคำมูล
        ภาษาไทย - พ่อ แม่ หมู หมา แมว น้อง
        ภาษาจีน - เกี๊ยะ เกี๊ยว เจี๊ยะ แป๊ะ ซิ้ม
        ภาษาอังกฤษ - ไมล์ เมตร ปอนด์ ฟุต
         2. คำมูลหลายพยางค์ เป็นคำหลายพยางค์ เมื่อแยกแต่ละพยางค์แล้ว อาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ แต่ความหมายของแต่ละพยางค์ไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคำมูลนั้นเลย เช่น กระดาษ ศิลปะ กำมะลอ หรือกล่าวได้ว่า คำมูล คือคำที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
         2.1 ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น จิ้งหรีด จะเห็นว่าพยางค์ " จิ้ง " และ " หรีด " ต่างก็ไม่มีความหมาย
         2.2 ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์ เช่น กิริยา จะเห็นว่าพยางค์ " ยา " มีความหมายเพียงพยางค์เดียว
         2.3 ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย แต่ความหมายของคำนั้นไม่มีเค้าความหมายของแต่ละพยางค์เหลืออยู่เลย 

 เครดิต http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/22626

ความคิดเห็น